วันชาติฝรั่งเศสตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคมของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันแห่งการปฎิวัติการปกครองจากระบบเจ้าขุนมูลนายไปสู่การปกครองในระบอบสาธารณรัฐ โดยประชาชนทั่วทั้งประเทศได้ลุกฮือขึ้นต่อต้านการปกครองแบบยุกโบราณจนกระทั้งได้รับชัยชนะเป็นครั้งแรกจากบุกเข้าทลายคุกบาสติลที่เปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของการกดขี่ประชาชน เมื่อ 209 ปีก่อนและนำไปสู่การล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้สำเร็จ โดยสมัชชาแห่งชาติได้กำหนดโครงสร้างกฏหมายฉบับใหม่ที่ยกเลิกการให้ความมีเอกสิทธิ์ ขจัดเรื่องสินบนและล้มเลิกระบบฟิวดัล(ระบบศักดินา) จากนั้นต่อมาจึงมีการจัดงานฉลองแห่งชาติขึ้นเรียกว่า "The Feast of the Federation" เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปีของเหตุการณ์จลาจลที่กองกำลังแห่งชาติจากทั่วประเทศได้เดินทางรวมพลกันที่ "Champs-de-Mars" ในกรุงปารีส แต่พอหลังจากนั้นการจัดงานฉลองเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ของวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2332 ก็ต้องหยุดไปเนื่องจากสถานการณ์ภายในประเทศยังคงไม่สงบเกิดสงครามปฏิวัติขึ้นหลายครั้งในช่วงระยะเวลาปี พ.ศ.2335-2345 และมาในสมัย "the Third Republic*"นี้เอง รัฐบาลจึงได้มีความคิดที่จะรื้อฟื้นการจัดงานเฉลิมฉลองวันชาติฝรั่งเศสขึ้นมาใหม่ โดยมีการผ่านร่างกฎหมายฉบับเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2423 ขึ้นมา ซึ่งกำหนดให้วันที่ 14 กรกฎาคม ของทุกปีเป็น "วันชาติฝรั่งเศส"และได้จัดงานเฉลิมฉลองครั้งแรกขึ้นในปีเดียวกันนั้น
ทั้งนี้งานจะเริ่มตั้งแต่ค่ำของวันที่ 13 โดยจะมีการแห่คบเพลิงและล่วงเข้าวันรุ่งขึ้นเมื่อระฆังตามโบสถ์วิหารต่าง ๆ หรือเสียงปืนดังขึ้นนั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่างานฉลองได้เริ่มต้นขึ้นแล้วอย่างเป็นทางการ เริ่มจากริ้วขบวนการสวนสนามของเหล่าทัพ จากนั้นเมื่อถึงช่วงเวลากลางวันประชาชนจะร่วมฉลองด้วยการเต้นรำอย่างรื่นเริงสนุกสนานไปตามท้องถนนและมีการจัดเลี้ยงกันอย่างเอิกเกริกจนถึงเวลาค่ำ ซึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือการจุดพลและการละเล่นดอกไม้ไฟที่ถือประเพณีปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีสิ่งสร้างความบันเทิงอื่น ๆ อีกมากมายที่จัดขึ้นทั่วประเทศทั้งการจัดการแข่งขันกีฬา การจัดนิทรรศการ งานแสดงสินค้า โดยไม่มีชาวฝรั่งเศสคนใดจะละเลยไม่นึกถึงและร่วมฉลองในวันสำคัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศครั้งนี้
ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ฝรั่งเศสนั้นเริ่มมีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกันอย่างเป็นทางการเมื่อ 300 ปีก่อน ซึ่งพระเจ้าหลุยส์ ที่ 14 ทรงแต่งตั้งคณะทูตเดินทางมาเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับประเทศไทยในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ถึงกรุงศรีอยุธยา ขณะเดียวกับพระองค์ทรงส่งคณะทูตฝ่ายไทยเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ถึงพระราชวังแวร์ซายส์เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนอีกด้วย นับแต่นั้นเป็นต้นมาความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศจึงปฏิบัติสืบต่อเรื่อยมาถึงทุกวันนี้ โดยทั้งสองฝ่ายต่างแลกเปลี่ยนความร่วมมือทั้งทางด้านวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การศึกษาและอื่น ๆ อีกมาก ทั้งนี้กระทรวงและองค์กรต่าง ๆ ของฝรั่งเศสได้ให้การช่วยเหลือแก่ประเทศไทยนำไปใช้ในโครงการต่าง ๆ เป็นเงินกว่า 250 ล้านบาท แต่กระนั้นก็ตามฝรั่งเศสก็ยังเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายไม่มากนักสำหรับคนไทย แม้ว่าจะมีบทบาทในฐานะประเทศที่ยังใหญ่ในด้านศิลปวัฒนธรรมมาช้านานก็ตาม แต่ทั้งนี้ในความจริงแล้วนั้นฝรั่งเศสจัดได้ว่าเป็นประเทศที่ 4 รองจากญี่ปุ่น,เดนมาร์ก และเยอรมณีในการให้ความร่วมมือกันมากที่สุดในระดับทวิภาคี
นอกจากนี้ในช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาฝรั่งเศสได้ตอกย้ำที่จะดำเนินการส่งเสริมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตลอดจนสาขาอื่น ๆ ให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยต้องประสบกับภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ อยู่นี้จนก่อให้เกิดผลกระทบต่อนักเรียนนักศึกษาที่ได้รับทุนจากรัฐบาลและทุนส่วนตัว จึงได้มีการจัดนิทรรศการการศึกษาในฝรั่งเศส เพื่อให้เข้าใจว่าแท้จริงแล้วการศึกษาในฝรั่งเศสไม่แพงอย่างที่คิด ซึ่งเสียค่าเล่าเรียนตกปีละ 10,000 บาทโดยประมาณเพื่อนำความรู้ที่ได้กลับมาพัฒนาประเทศ
ในเรื่องของความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจระหว่างฝรั่งเศสกับไทย ซึ่งรู้กันดีว่ากำลังกดดันจากปัญหาวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม ปีที่แล้วแต่อย่างไรก็ดีภาพที่ออกมากลับตัดกันอย่างสิ้นเชิง โดยสินค้าผู้บริโภคที่ฝรั่งเศสนำเข้าประเทศไทยนั้นอยู่ในระดับคงที่ ขณะที่ประเทศไทยกลับส่งสินค้ามากขึ้นสาเหตุจากการลดค่าเงินบาท จึงส่งผลให้มีส่วนส่งเสริมการส่งออกของสินค้าของไทยได้มากขึ้น ซึ่งบรรดาบริษัทของชาวฝรั่งเศสซึ่งเป็นฐานการส่งออกของสินค้าไทยต่างรู้พึงพอใจกับยอกการส่งออกไปสู่ตลาดทั่วโลกพุ่งสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการมุ่งเน้นที่ตลาดภายในประเทศของบริษัทย่อยของฝรั่งเศสประจำปรเทศไทยภาพที่ออกมาปรากฎผลดีในระยะสั้นเท่านั้น แต่หัวใจสำคัญก็คือการลงทุนซึ่งประเทศไทยได้มุ่งเป้าไปที่แผนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยได้มีการร่างในรายละเอียดของแผนการใหญ่เพื่อดึงนักลงทุนต่างชาติให้ห้นมาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ของฝรั่งเศสกำลังเฝ้าจับตามอง
วันอาทิตย์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น