วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2551

หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์


พระประวัติ
พระองค์ทรงสมภพเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2417 เป็นพระราชโอรสองค์ที่14 ในพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 5) กับ เจ้าจอมมารดาตลับ


การศึกษาและหน้าที่การงาน
เมื่อทรงพระเยาว์ ทรงเข้ารับการศึกษาวิชาภาษาไทยครั้งแรกที่สำนักพระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อยอาจารยางกูร) จากนั้นทรงศึกษาภาษาอังกฤษขึ้นต้นในสำนักครูรามสามิแล้วไปศึกษาภาษาไทยต่อที่สำนักพระยาโอวาทวรกิจ (แก่นเปรียญ) และโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบโดยมีเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นอาจารย์ผู้สอน ต่อมาในวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๔๒๗ เมื่อเจริญพระชันษาได้ ๑๐ ชันษา ทรงเข้าพิธีโสกันต์ พร้อมด้วยพระเจ้าลูกยาเธออีก ๓ พระองค์ คือ พระองค์เจ้ากิตติยากรวรลักษณ์กรมพระจันทบุรีนฤนาท พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดมกรมหลวงปราจิณกิติบดีและพระองค์เจ้าจิระประวัติวรเดชกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ในปีถัดมาทรงผนวชเป็นสามเณรที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามโดยในระหว่างที่ทรงผนวชแม้จะเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เพียง ๒๒ วัน แต่ได้ทรงแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถที่เหนือกว่าบุคคลทั่วไปเมื่อทรงจำพระวินัยสงฆ์ได้อย่างแม่นยำชนิดพระสงฆ์ที่บวชเรียนมาแล้วหลายพรรษา ก็ยังไม่สามารถท่องจำวินัยสงฆ์ได้แม่นยำเช่นพระองค์ท่าน หลังจากที่ทรงลาผนวชแล้ว เสด็จไปศึกษาต่อ ณ โรงเรียนมัธยมกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา ๓ ปีเมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมแล้วทรงสอบเรียนต่อกฎหมายที่มหาวิทยาลัยออกฟอร์ดได้ด้วยพระชนมายุเพียงแค่ ๑๔ ชันษา แต่ทางมหาวิทยาลัยไม่ยอมให้ทรงเข้าศึกษาต่อ เนื่องจากติดข้อบังคับที่ว่าอายุไม่ถึง ๑๘ ปีแต่ก็มิได้ย่อท้อ เสด็จไปขอร้องเป็นกรณีพิเศษต่อทางมหาวิทยาลัยว่า "คนไทยเกิดง่ายตายเร็ว" จนทางมหาวิทยาลัยยินยอมให้สอบอีกครั้ง ซึ่งก็ทรงสอบได้และได้ศึกษาต่อจนจบหลักสูตรปริญญาตรีด้านกฎหมายชั้นเกียรตินิยม โดยใช้เวลาศึกษาเพียงแค่ ๓ ปี จากปกติที่ต้องใช้เวลาเรียนถึง ๔ ปี นับเป็นบัณฑิตที่มีอายุน้อยที่สุดด้วยพระชนม์แค่ ๑๗ ชันษาจากนั้นเมื่อเสด็จกลับมาเมืองไทยทรงเข้ารับราชการที่กรมราชเลขานุการ ได้ใช้พระปรีชาสามารถ พระสติปัญญาและพระวิริยะอุตสาหะในการทำงานเป็นอย่างมาก ในไม่ช้าก็ทรงสามารถทำงานได้ทุกตำแหน่งในกรม จนเป็นที่ยกย่องของข้าราชการในกรมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเป็นเลิศในการร่างพระราชหัตถเลขาได้เป็นที่พอพระราชหฤทัยของพระพุทธเจ้าหลวงยิ่งนัก ถึงขนาดที่ทรงเรียกพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ว่า "เฉลียวฉลาดรพี" พร้อมกับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี ในขณะเดียวกันทรงมีตำแหน่งเป็นสภานายกพิเศษจัดตั้งศาลมณฑลและศาลเมือง (ศาลจังหวัด) ขึ้นในท้องที่ต่าง ๆ โดยทรงจัดตั้งศาลหัวเมืองในมณฑลอยุธยาขึ้นเป็นแห่งแรกแม้ในช่วงนั้นจะมีคดีความในศาลคั่งค้างอยู่มาก แต่ก็ทรงตัดชำระความด้วยพระองค์เองจนเสร็จสิ้นภายในเวลาอันรวดเร็วได้อย่างถูกต้องและเที่ยงธรรม จนเป็นที่เลื่อมใสของประชาชนทุกคน


รับตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
จากนั้นพระองค์ก็ได้รับตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ในขณะที่มีพระชนม์มายุเพียง 22 ชันษาเท่านั้น พระองค์ได้ทรงมุ่งมั่นในการปรับปรุงแก้ไขระเบียบศาล และงานยุติธรรมของประเทศไทยให้มีความเจริญก้าวหน้าเท่าทันต่างประเทศ นับว่าพระองค์ทรงเป็นเสนาบดีที่ทรงมีพระชนมายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย


จัดตั้งโรงเรียนสอนกฎหมาย
ใน พ.ศ. 2440 พระองค์ได้ทรงจัดตั้งโรงเรียนสอนกฎหมายในประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรก โดยยืมสถานที่ของกระทรวงยุติธรรมเป็นสถานที่สอน ในการดำเนินการสอนของพระองค์ท่านได้ประสบปัญหาอย่างมาก เนื่องจากในขณะนั้นประเทศไทยยังไม่มีบุคคลากรที่เชี่ยวชาญด้านกฎหมายนัก พระองค์จึงทรงต้องคัดเลือกและสอนนักเรียนเองทุกวิชา แต่พระองค์ก็ไม่เคยย่อท้อแม้แต่น้อย จนกระทั่งปลาย พ.ศ. 2440 จึงเปิดให้สอบไล่ในระดับชั้นเนติบัณฑิตเป็นครั้งแรก เพื่อให้เนติบัณฑิตเหล่านี้ได้นำสิ่งที่เรียนมาไปแบ่งเบาภาระของพระองค์

กรมการร่างกฎหมาย
ปัญหาอีกอย่างหนึ่งสำหรับศาลไทยในเวลานั้น คือ เรื่องของศาลกงสุลต่างชาติ ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในเมืองไทยเป็นที่รู้กันว่าชาวต่างพวกนี้มีอำนาจอิทธิพลมาก เวลาเกิดคดีความ ข้อโต้แย้งขึ้นมาก คนไทยมักตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เพราะชาวต่างชาติมักอ้างว่ากฎหมายยังล้าหลังไม่ทันสมัยเพื่อเป็นข้ออ้างเอาเปรียบคนไทยซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่ศาลไทยยังไม่พร้อมที่จะรับข้อกฎหมายใหม่ ๆในเวลานั้น พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงแก้ปัญหาเรื่องนี้โดยการจ้างชาวต่างชาติมาเป็นผู้พิพากษาเป็นเหตุให้ผู้พิพากษาศาลไทยเกิดความกระตือรือร้นเร่งศึกษาชากฎหมายไทยและต่างประเทศทำให้ศาลไทยมีความเชื่อถือมากขึ้นและเป็นที่ยอมรับของชาวต่างชาติ ถึงกับยกเลิกศาลกงสุลยอมให้คนชาติตัวเองมาขึ้นศาลไทยในส่วนการแก้ไขตัวบทกฎหมายนั้น ได้ทรงกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าเกล้าเจ้าอยู่หัวให้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่ตรวจชำระพระราชกำหนดบทพระอัยการ ตลอดจนจัดระเบียบกฎหมายที่ใช้มาเป็นเวลานานจนล้าสมัย เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสศึกษาและเข้าใจตัวกฎหมายได้ง่ายขึ้น และเพื่อสะดวกต่อการพิจารณาคดีทั้งปวง คณะกรรมการชุดที่ว่านี้ประกอบไปด้วย ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายทั้งฝ่ายไทยและต่างประเทศ โดยทรงเป็นองค์ประธานคณะกรรมการเองการยกเครื่องกฎหมายในครั้งนั้นกล่าวได้ว่า ทรงเป็นหัวเรือใหญ่ในการร่างกฎหมายอย่างแท้จริง จนประสบความสำเร็จเป็นประมวลกฎหมายไทยฉบับแรก ซึ่งต่อมาเมื่อมีการประกาศการใช้กฎหมายแล้ว ยังได้ทรงเขียนอธิบายตัวบทกฎหมายให้มีความเข้าใจได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นไปอีก เพื่อสะดวกต่อการศึกษา และให้เกิดการตีความตรงกับเจตนารมณ์ของผู้ร่างอันถือเป็นรากฐานสำคัญของการก่อตั้งวิชานิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในปัจจุบันต่อมาคณะกรรมการชุดดังกล่าวยังได้ตรากฎหมายขึ้นมาใช้อีกหลายฉบับจนกระทั่งได้ยกฐานะเป็นกรมร่างกฎหมายและพัฒนากลายมาเป็นคณะกรรมการกฤษฎีกาในทุกวันนี้ นอกจากนี้ในปี พ.ศ. ๒๔๔๑ ทรงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นกรรมการในศาลกรรมการฎีกาหรือศาลฎีกาในปัจจุบัน มีหน้าที่คอยตรวจตัดสินความฎีกาซึ่งเป็นศาลสูงสุดของประเทศ "ชีวิตของฉันเกิดมาเพื่อรับใช้ประเทศชาติ" จะเห็นได้ว่า ตลอดเวลาที่อยู่ในตำแหน่งเสนาบดี ๑๔ ปีได้ทรงปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มพระกำลังสามารถและมีพระวิริยะอุตสาหะในการทำงานมาโดยตลอด โดยไม่ได้ย่อท้อต่ออุปสรรคและความเหน็ดเหนื่อย

สิ้นพระชนม์
ในวันที่ 7 ส.ค.2463 พระองค์ได้สิ้นพระชนม์ด้วยโรควัณโรคที่พระวักกะ ซึ่งในวงการนักกฎหมายได้ถือเอาวันที่พระองค์สิ้นพระชนม์ เป็นวันรำลึกถึงคุณงามความดีของท่านที่มีต่อวงการกฎหมายไทย โดยใช้ชื่อว่า วันรพี